การปกครองท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียเบื้องต้นที่เราควรรู้
ก่อน
ที่จะไปกล่าวถึงระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศมาเลเซีย
ขอเกริ่นถึงประวัติการปกครองของประเทศนี้เคร่าๆก่อนครับ
ประเทศมาเลเซียมีการปกครองแบบสหพันธ์รัฐ โดยมีรัฐทั้งหมด 13
รัฐด้วยกันประเทศมาเลเซียประกอบด้วยดินแดนสองส่วนด้วยกัน
ส่วนแรกคือส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งตั้งอยู่ปลายแหลมมาลายูมีเนื้อที่ประมาณ
131,582 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วย รัฐด้วยกันดังนี้ เกอลันตัน
เตอเริงกานู ปาหัง โยโฮร์ เมอละกา เนอเกอรีเซิมบิลัน เซอลังงอร์
เปรัก เกอดะห์ ปีนัง
และเปร์ลิส และอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่เป็นเกาะซึ่งตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว
เรียกกันว่ามาเลเซียตะวันออก มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 198,154 ตารางกิโลเมตร
2 สองรัฐด้วยกันคือ รัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค
ว่ากันว่าขนาดของประเทศมาเลเซียจะเท่ากับประเทศพม่าเลย
แต่หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้วประเทศมาเลเซียมีขนาดเพียงสองในสามของ
ประเทศไทยเท่านั้น
ประเทศ
มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี 1957
โดยประกาศเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ การรวมตัวกันของซาบะห์
ซาราวัคและสิงค์โปรในปี 1963 ทำให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานั้น
ต่อมาสิงค์โปรก็ต้องแยกตัวออกไปในปี 1966
การปกครองของประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วยสามระดับด้วยกัน
ระดับแรกก็คือระดับสหพันธ์รัฐ ระดับต่อมาก็คือระดับรัฐ
และระดับที่สามก็คือระดับท้องถิ่น
ระดับ
แรกนั้นกล่าวง่ายๆก็คือระดับประเทศนั้นเอง
รัฐสภาของประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วยสองสภาเหมือนกับประเทศไทย
กล่าวคือมีทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
และที่สำคัญรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญของประเทศมาเลเซียยังประกอบไปด้วยสมเด็จพระ
ราชาธิบดีหรือดาคงด้วย
แต่ท่านจะไม่เป็นผู้นำในรัฐสภายกเว้นเฉพาะในช่วงเวลาที่จำเป็นแลำสำคัญเท่า
นั้น ตามมาตรา 32 (2) ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์รัฐ
สมเด็จพระราชาธิบดีมีวาระในตำแหน่ง 5 ปี
ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งโดยสภาผู้ปกครองจากทั้งเก้ารัฐที่มี
ผู้ปกครอง(สุลตาน)จากทั้ง 9 รัฐด้วยกัน
ส่วนสี่รัฐที่ไม่มีสุลตาลปกครองก็คือรัฐปีนัง รัฐมะละกา
รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค
แม้ไม่มีสุลตานปกครองรัฐเหล่านี้ก็ยังมีผู้ว่าการรัฐที่ได้รับการแต่งตั้ง
จากสมเด็จพระราชาธิบดีโดยจะมีวาระในตำแหน่ง 4 ปี
หลัง
จากได้ทราบเรื่องราวเบื่องต้นของการปกครองแบบระดับประเทศแล้วเรามาดูการ
ปกครองในระดับรัฐกัน ในรัฐผู้นำสูงสุดของรัฐแต่ละรัฐคือสุลตาน
ท่านจะปฏิบัติตามคำแนะนำของสภาผู้บริหารรัฐซึ่งนำโดย Menteri Besar
หรือมุขมนตรี
แต่หากเป็นรัฐที่ไม่มีสุลตานก็จะมีผู้ว่าการรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอา
กงเพื่อที่จะทำหน้าที่ในทางพิธีกรรมต่างๆ
คล้ายๆกับสุลตานเหมือนกับในรัฐอื่นๆ
แต่ไม่มีอำนาจเท่ากันเป็นเพียงผู้นำตามพิธีการเท่านั้น
ในการปกครองระดับรัฐนั้นจะมีสภาแห่งรัฐเหมือนกันกับสภาของประเทศ
แต่จะต่างกันตรงที่สภาแห่งรัฐนั้นจะมีเพียงสภาเดียวไม่เหมือนกับสภาแห่ง
สหพันธ์ที่มีสองสภา สภารัฐเหล่านี้จะมีการเลือกตั้งกันทุก 5 ปี
สภาแห่งรัฐจะมีอำนาจในการออกกฎหมายได้เต็มที่ตราบใดที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ
แห่งสหพันธ์
สภาผู้บริหารแห่งรัฐจะเป็นคณะผู้บริหารรัฐเรียกกันสั้นๆว่าเอ็กโค
จะดำเนินกิจกรรมทืุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับรัฐ
ซึ่งผู้นำของเอ็กโคก็คือหัวหน้าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในระดับรัฐเรียกว่า
เมินตรีเบอซานั้นเอง
สุด
ท้ายเราก็มาดูกันถึงระดับการปกครองล่างสุดของประเทศมาเลเซีย
นั้นก็คือในระดับท้องถิ่นนั้นเอง
ตามกฎหมายการปกครองท้องถิ่นมองประเทศมาเลเซียปี 1976
ประเทศมาเลเซียได้มีการแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 6 ชนิดด้วยกันคือ
- กรุงกัวลาลัมเปอร์
- สภาเมือง
- คณะเมือง
- คณะเขตชนบท
- สภาท้องถิ่น
จาก
การมาตรา 171 มีผลทำให้มีเพียงสองหน่วยการปกครองท้องถิ่นคือ สภาเทศบาล
และสภาเขต และจากกฎหมายการปกครองท้องถิ่นปี 1976
หน่วยงานปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- หน้าที่วางแผนท้องถิ่น
- หน้าที่ในการออกใบอนุญาติ
- อำนาจในการเก็บภาษีบางชนิด
- อนุญาติในการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยหรือพวกห้างร้านต่างๆ
- อำนาจในการวางแผนเมืองและหน้าที่ด้านการจัดการ
- การจัดการจราจรและการควบคุมระบบขนส่งมวลชน
- อำนาจในการวางแผนและการสนับสนุนสิ่งสาธารณะต่างๆ
หน้าที่
หลักๆของหน่วยงานท้องถิ่นสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่างๆได้ดังนี้
ด้่านสิ่งแวดล้อม ด้านงานสาธารณะ ด้านสังคม และด้านการพัฒนา
วึ่งหากมองเผินๆก็คล้ายๆกับบ้านเรานั้นเอง
แต่จุดที่สำคัญที่นำมาซึ่งความสับสนของทางมาเลเซียที่กล่าวไว้ข้างต้นก็คือ
ประเทศนี้ไม่มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น
ทำให้เวลาระดับผู้บริหารท้องถิ่นของมาเลเซียมาเยี่ยมเยือนหรือมาติดต่อธุระ
ต่างๆก็จะตรงเข้าไปหาข้าราชการดังที่กล่าวไปแล้ว
เพราะผู้นำเหล่านี้ของประเทศมาเลเซียสวมหมวกสองใบ
คือเป็นทั้งนายอำเภอและนายกเทศมนตรีในเวลาเดียวกัน
และก่อนหน้านี้บ้านเราก็ให้หัวหน้าส่วนข้าราชการดูแลหรือเป็นประธานในหน่วย
งานท้องถิ่นด้วย เหตุนี้จึงทำให้ทางมาเลเซียจึงไปเข้าพบกับข้าราชการ
เช่นนายอำเภอแทนที่จะเข้าพบกับผู้ที่มีอำนาจโดยตรงกับผู้บริหารท้องถิ่น
อย่าง อบต หรือ เทศบาล
จริงๆ
แล้วการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียนั้นเมื่อก่อนก็เคยจัดขึ้นมาแล้ว
แต่ต้องถูกยกเลิกไปเมื่อปี 1970 นั้นเอง
หลังจากนั้นเป็นต้นมาเทศมนตรีหรือผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องะถิ่นก็
มาจากการแต่งตั้งของ Menteri Besar โดยตรง
และชื่อที่ถูกเสนอขึ้นไปจะมาจากการเสนอของพรรคการเมืองที่ได้รับชัยชนะใน
รัฐนั้นๆ
หากมองในแง่นี้เทศมนตรีหรือผู้นำในระดับท้องถิ่นเหล่านี้ก็จะไม่มีอิสระใน
การบริหารเท่าที่ควร พวกเขาจะขึ้นตรงต่อผู้ที่แต่งตั้งเขามาเท่านั้น
หากมองในเรื่องของประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว
การเลือกตั้งที่มีในระดับท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ดีซึ่งประเทศมาเลเซียเองนับ
ว่ามีการพัฒนาล่วงหน้าประเทศไทยไปมาก
แต่แล้วทำไมประเทศนี้ต้องยุติการเลือกตั้งตัวแทนในระดับท้องถิ่นเสีย
มีสิ่งดีๆอยู่แล้วทำไมต้องยกเลิก เรื่องนี้มีคำตอบครับ
อย่า
ลืมว่าประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแบบสหพันธ์รัฐซึ่งในที่นี้หมายถึงรัฐต่างๆ
ของมาเลเซียเองก็ยังมีกฎหมายเป็นของตนเองด้วย
และแต่ละรัฐก็มีผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งเหมือนดังที่เกิดขึ้นในระดับ
ประเทศทั่วไป
รวมไปถึงในระดับท้องถิ่นประเทศนี้ยังเปิดโอกาศให้มีการเลือกตั้งในระดับ
ล่างสุดด้วย
แล้วทำไมอยู่ดีดีประเทศมาเลเซียต้องระงับไม่ให้มีการเลือกตั้งในระดับท้อง
ถิ่น
เรื่องนี้มีอยู่ว่าเราคงทราบดีว่าเมื่อครั้งหนึ่งหลังจากที่มาลายาได้รับ
เอกราชมีการชวนรัฐต่างๆเข้าร่วมกับมาลายาเพื่อก่อดังสหพันธ์รัฐมาเลเซียผู้
ที่ได้รับชวนเข้าร่วมได้แก่ ซาบะห์ ซาราวัค บรูไน และสิงค์โปร
ท้ายที่สุดบรูไนไม่ยอมเข้าร่วม แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่บรูไน
การที่สิงค์โปรเข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับมาเลเซียนั้นมีประเด็น
หนึ่งซึ่งชาวจีนที่อยู่ในสิงค์โปรไม่เห็นด้วยคือเรื่องของการให้สิทธิพิเศษ
แก่ชนเชื้อชาติมาลายู ซึ่งทำให้เกิดการจราจลจนทำให้มีผู้เสียชีวิต
เหตนี้ทำให้สิงค์โปรต้องแยกตัวออกไปในที่สุด
ซึ่งความไม่พอใจในเรื่องดังกล่าวยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น