วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

KUALA LUMPUR


กัวลาลัมเปอร์ (ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์; อักษรยาวี:كوالا لومڤور) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL
กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia)
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปุตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของเมืองกัวลาลัมเปอร์ได้แก่ อาคารเปโตรนาสทาวเวอร์ (Petronas Towers) ตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจของเมือง ที่แวดล้อมด้วยสวนสาธารณะ และส่วนอาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (KLCC) อาคารเปโตรนาส มี 2 อาคาร นับเป็นอาคารที่สูงอันดับ 3 และ 4 ของโลก 


วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

KL Tower

หอคอยกัวลาลัมเปอร์ (KL Tower)

หอคอยกัวลาลัมเปอร์ตั้ง ตระหง่านอยู่เหนือเนินเขาบูกิตนานาส ที่ความสูง 421 เมตร และ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 94 เมตร ซึ่งที่นี่ คุณจะได้เห็นวิวตึกสูงซึ่งจะทำให้คุณจดจำ KL ไม่มีวันลืม

หอคอยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมอิสลามมรดกของประเทศ ตกแต่งด้วยตัวอักษรอารบิก กระเบื้องอิสลาม ลายดอกไม้และภาพนามธรรมตามแบบศาสนาอิสลาม ทาสีต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกสงบ

นอกเหนือจากทัศนียภาพของเมืองที่เห็นได้โดยรอบแล้ว หอคอยกัวลาลัมเปอร์ยังเปรียบเสมือนแหล่งพักผ่อนหย่อนใจชาวกรุงที่รัก ธรรมชาติอีกด้วย สวนเขียวขจีที่โอบล้อมหอคอยกัวลาลัมเปอร์ คือป่าบูกิตนานาส ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ

มีพื้นที่ทั้งหมด 10.05 เฮกเตอร์ และได้ชื่อว่าเป็นปอดของกัวลาลัมเปอร์ ป่าสงวนแห่งนี้ยังเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์นานาชนิด ที่อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนของมาเลเซีย







BBKLCC

BBKLCC

พา วิลเลียน กัวลาลัมเปอร์คือหนึ่งในห้างสรรพสินค้าเปิดใหม่ล่าสุดที่เพิ่มสีสันให้แก่ ย่านช็อปปิ้งในเมือง มีพื้นที่กว่า 1.37 ล้านตารางฟุต ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งนี้มีร้านค้า 450 ร้าน จำหน่ายสินค้าแฟชั่นล่าสุด เครื่องตกแต่งบ้านทันสมัย สิ่งบันเทิงและอาหาร ตอบสนองความต้องการของนักช็อปในทุกๆ ด้าน

ภายในห้าง แบ่งออกเป็น 6 โซน ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน โซนใหม่ล่าสุดคือ โตเกียวสตรีท ซึ่งนำอาหาร ศิลปะ และวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาไว้ในใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์

แต่หากคุณต้องการพัก ก็สามารถเพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์หรือการร้องเพลงคาราโอเกะ หรือแม้แต่นั่งผ่อนคลายในร้านกาแฟชมน้ำพุพาวิลเวียนคริสตัลจากด้านบนซึ่งป็น กิจกรรมที่คุณไม่ควรพลาด

การตกแต่งอาคารตามเทศกาลอย่างสวยงามที่พาวิลเลียนสวยงามที่สุดในภูมิภาค โดยได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ รวมทั้งได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย ในจำนวนนี้คือรางวัล VIVA Best-of-the-Best Award Honoree (ดีไซน์และการพัฒนา) ในปี ค.ศ. 2011 โดยสภาศูนย์การค้านานาชาติ

ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้เปิดให้บริการ 10.00 - 22.00 น. ยกเว้นร้านอาหารนานาชาติบนชั้น 6 และร้านค้าในโซนConnection Precinct ที่ปิดให้บริการในเวลา 24.00 น. และ ตี 2 . ตามลำดับ


KLCC

ตึกแฝดปิโตรนาส (Petronas Twin Towers)

ตึกแฝดปิโตรนาสคืออาคาร 88 ชั้น รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ อาคาร KLCC อาคารแห่งนี้เป็นตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก

สร้างขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงเรขาคณิตของสถาปัตยกรรมอิสลาม ออกแบบโดยซีซาร์ เปลลิ สถาปนิกเชื้อสายอาร์เจนตินา-อเมริกัน

ฝั่งหนึ่งของผลงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกนี้ติดกับสวน KLCC ที่กินเนื้อที่กว้างขวางและตกแต่งอย่างสวยงาม

สถานที่ที่น่าสนใจในอาคาร KLCC คือ ซูเรีย ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์, ปิโตรนาส ฟิลฮาร์โมนิก ฮอลล์, ศูนย์วิทยาศาสตร์ เปโตรซินและศูนย์ประชุมกัวลาลัมเปอร์ซึ่่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ




ปีนัง


ปีนัง เมืองใหญ่อันดับ2 ของมาเลเซีย
 รัฐปีนังประกอบด้วยส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ บัตเตอร์เวิร์ธ หรือ เซอเบอรังเปอราย และเกาะปีนัง โดยตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ห่างจากอำเภอสะเดาจังหวัดสงขลาประมาณ 160 กิโลเมตร 

พื้นที่ : 1,046.3 ตารางกิโลเมตร โดยมีความหนาแน่นประชากร ประมาณ 1,434 คน/ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : จอร์จทาวน์ เป็นเมืองหลวงของรัฐปีนังและยังเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกด้วย
ประชากร : 1.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อมิถุนายน 2550) ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน โดยมีชาวมาเลเซียภูมิบุตร ชาวจีน ชาวอินเดีย และชนชาติอื่นๆ อยู่รวมกัน
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้นแบบใกล้เขตศูนย์สูตร                                                      
                 - ฤดูมรสุม (เดือนพฤษภาคม-กันยายน) อุณหภูมิเฉลี่ย 28 -34 องศาเซลเซียส
                 - ฤดูร้อน มีฝนตกชุก (ตุลาคม- กุมภาพันธ์ ) ช่วงอากาศร้อน  24-32 องศาเซลเซียส
ภาษาราชการ : บาฮาซาร์มาเลเซีย (Bahasa Malaysia) เป็นภาษาราชการ ภาษาจีนฮกเกี้ยนเป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้ทั่วไปคู่กับภาษาบาฮาซาร์มาเลเซีย  ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้
ศาสนา : อิสลาม พุทธมหายาน ฮินดู และ คริสต์ 
หน่วยเงิน : ดอลลาร์มาเลเซีย (Ringgit Malaysia : RM 1 = 10 บาท) (ข้อมูลเมื่อกุมภาพันธ์ 2551)
เมืองสำคัญต่างๆ   
จอร์จทาวน์(Georgetown) 
เป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจและด้านการพัฒนา และมีประชาชนอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดทางฝั่งตะวันออกของเกาะ
บัตเตอร์เวิร์ธ(Butterworth) 
เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางธุรกิจทางแผ่นดินใหญ่และเป็นส่วนที่มีประชากรอาศัย อยู่หนาแน่น รวมทั้งเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับเกาะปีนังด้วย โดยสามารถข้ามไป-มาได้ทั้งทางสะพานปีนังและทางเรือเฟอร์รี่
การคมนาคม
1.  ทางเครื่องบิน มีสายการบินหลายสายให้บริการบินเส้นทางภายในและภายนอกประเทศ เช่น  
แอร์เอเชีย (Air Asia) สายการบินไทย มาเลเซียแอร์ไลน์ (Malaysia Airlines) สายการบินไฟร์ฟลาย (Firefly ) และสายการบินต่างประเทศอื่น ๆ อีก 8 สายการบิน 
สนามบินนานาชาติ ชื่อว่า สนามบินนานาชาติบายันเลอปาส ตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะโดยอยู่ห่างจาก Georgetown 16 กิโลเมตร โทรศัพท์ 04 643 4411 หรือ 04 643 5339
2.  ทางรถยนต์ กฎจราจรในปีนังใช้รถยนต์พวงมาลัยขวา มีถนนเชื่อมต่อถึงกันทั่วทุกเมือง มีถนนไฮเวย์เชื่อมถนนใหญ่หลายสาย มีป้ายกำกับเป็นภาษาอังกฤษ เกาะปีนังเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ โดยสะพานปีนังซึ่งมีความยาว 13.5 กิโลเมตร (www.penangbridge.com.my) โดยจะเสียค่าผ่านเข้าเกาะปีนังครั้งละ 7 ริงกิตมาเลเซีย (โดยไม่เสียค่าผ่านทางขาออก)
- รถประจำทางระหว่างเมืองทั้งแบบรถโดยสารธรรมดาและรถโค้ช 
- รถโดยสารประจำทางในเมือง เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.10-20.00 น. บางเส้นทางเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ราคา 1  ริงกิตมาเลเซีย 
- รถแท็กซี่มีบริการอยู่ทั่วไป เก็บค่าโดยสารโดยใช้วิธีการต่อรองราคา (ไม่ใช้มิเตอร์) ราคาเริ่มต้นที่ 10 ริงกิตมาเลเซีย คนขับรถแท็กซี่โดยมากจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ หรือให้คนที่รู้ภาษามาเลย์ช่วยเขียนที่อยู่ที่ท่านต้องการจะไปให้เพื่อเอา ไว้ให้คนขับรถแท็กซี่ดู 
- การเช่ารถยนต์ขับขี่ มีบริษัทให้เช่ารถยนต์ให้บริการเฉพาะรถยนต์ที่ผลิตในมาเลเซียเท่า นั้น          ทั้งนี้ ผู้เช่ารถยนต์เพื่อขับขี่จะต้องมีใบขับขี่สากล
3. ทางรถไฟ การเดินทางโดยรถไฟในภาคเหนือของมาเลเซีย ที่สถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่ หมายเลข 04 3237962 หรือจองตั๋วได้ที่ http://ktmb.com.my

 








เก็นติ้ง

เก็นติ้ง ไฮแลนด์
" เกนติ้ง " ชื่อนี้คงคุ้นหูคนไทยมานานโดยเฉพาะนักเดินทางท่องเที่ยว
เกนติ้งเป็นแหล่งบันเทิงที่รวมความหลากหลายไว้ในที่เดียวกัน
เป็น City of Entertainment ระดับโลกที่มีมานานหลายสิบปี จากเดิมที่เคยมีชื่อเสียงในเรื่องแหล่งกาสิโนที่ละลานตา
ภายในห้องโถงขนาดใหญ่เทียบได้กับสนามฟุตบอล มีเครื่องเล่นที่สามารถดูดเงินในกระเป๋ามาแล้วมากมาย
เป็นการสูญเงินบนความสนุกก็อาจจะพูดได้
เขาเกนติ้งมีความสูงประมาณ 1800 เมตร มีโรงแรมอยู่บนความสูงระดับเมฆ
ที่คนไทยจำนวนไม่น้อยกล่าวว่าได้มาอยู่เหนือเมฆ ได้มารับไอเย็น
แม้บางคนจะไม่ชอบเรื่องการพนันแต่ก็อยากมาได้เห็นปุยเมฆอย่างใกล้ชิด และมีให้เห็นกันตลอดปี
ปัจจุบันเกนติ้งไฮแลนด์เปลี่ยนโฉมจากสถานบันเทิงสำหรับผู้ใหญ่ มาเป็นศูนย์รวมความสนุกสนานของครอบครัว
ที่เดินทางขึ้นเขาด้วยกระเช้าลอยฟ้า ไต่ระดับความสูงขึ้นมาอยู่เหนือระดับเมฆในระทางราว 3 กม.
เป็นความตื่นเต้นที่หลายคนอยากมาเห็นกับตาว่าเป็นอย่างไร
แต่ละวันมีผู้คนหลั่งไหลกันขึ้นมาอยู่รวมกันบนยอดเขาเกนติ้งนับหมื่นๆคน
โดยเฉพาะเย็นวันศุกร์ จะหนาแน่นเป็นพิเศษ แต่ข้างบนนี้ก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่างโดยเฉพาะที่พัก รองรับได้หลายหมื่นคน




ปุตราจายา

ปุตราจายา (Putrajaya)
ปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองใหม่ ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย เกิดขึ้นจากแนวความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่จะสร้างเมืองเพื่อเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ อยู่ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ราว 4,932 เฮกเตอร์ ประชากรคาดการณ์ ราว 350,000 คน การใช้ประโยชน์ที่ดินมีการวางผังอย่างเป็นสัดส่วน ดังนี้
  • ราชการ 5.3%
  • พานิชยกรรม 2.9%
  • ที่พักอาศัย 25.8%
  • วัฒนธรรม 2%
  • สาธารณประโยชน์ 10.1%
  • สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ 18.2%
  • พื้นที่สีเขียว 37.5%
ส่วนประกอบสำคัญของเมืองได้แก่ทะเลสาบที่สร้างขึ้นโดยการขุด จึงทำให้เมืองปุตราจายามีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และมีสะพานที่ออกแบบอย่างสวยงามถึง 5 สะพานได้แก่ Putra Bridge, Seri Perdana Bridge, Seri bakti Bridge, Seri Gemilang Bridge, และ Seri Wawasan Bridge
ปุตราจายาเป็นความตั้งใจของผู้นำมาเลเซียที่ต้องการจะเนรมิตรเมืองใหม่ ขึ้นมา เมื่อปี 2538 โดยกำหนดแผนการพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะ 1A แล้วเสร็จในปี 2542 ระยะ 1B แล้วเสร็จในปี 2544 และระยะ 2 แล้วเสร็จในปี 2553 เพื่อเป็นศูนย์การบริหารและปกครอง แยกออกจากกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวง เพื่อต้องการควบคุมปัญหาการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและต้องการแก้ไขปัญหาการ จราจรใน เมืองหลวงด้วย นอกจากนี้ จะเป็นความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคนมาเลเซีย
ปุตราจายาอยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปทางใต้ ประมาณ 25 กม. ห่างจากท่าอากาศยานระหว่างประเทศกัวลาลัมเปอร์ หรือ KLIA ซึ่งเป็นสายการบินแห่งใหม่ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ ประมาณ 20 กม. มีเส้นทางคมนาคมเข้าออกหลายเส้นทางในระดับทางด่วน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองที่มีการเข้าออกได้สะดวกที่สุดในประเทศอีกด้วย
การพัฒนาโครงการประกอบด้วยส่วนของอาคารที่ทำการหลักของรัฐบาลอาคาร ของกระทรวงต่าง ๆ สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ศูนย์การค้า สนามกีฬา และที่อยู่อาศัยของข้าราชการและพนักงาน เป็นต้น
ปุตราจายาครอบคลุมพื้นที่ราว 4,581 เฮกตาร์ โดยภูมิทัศน์ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ความพยายามสร้างให้เป็น “เมืองในสวน” จึงมีที่โล่งแจ้งและสวนสาธารณะอยู่ทั่ว ๆ ไป และกว่า 600 เฮคตาร์ จะเป็นส่วนของภูมิทัศน์หลักที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์
ปุตราจายาเป็นเมืองหนึ่งที่มีการวางแผนด้านนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ รัดกุมในการกระจายการใช้พื้นที่ ระบบขนส่ง การใช้ประโยชน์และโครงสร้างพื้นฐาน การอยู่อาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศ สวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ
ถนนหลักมีความยาว 4.2 กม. สามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับการพาเหรด สวนสนาม ในงานรัฐพิธีและการเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างสบายและสวยงาม
ในส่วนของอาคารที่เป็นจุดเด่นของเมืองอยู่ที่ตึกซึ่งก่อสร้างอยู่บนเนิน สำหรับเป็นที่ทำการของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี หรือทำเนียบรัฐบาล เรียกว่า เปอร์ดานาปุตรา ส่วนยอดบนมีลักษณะคล้ายรูปโดมของมัสยิด เป็นตึกสูง 6 ชั้น แยกเป็น 3 ปีก โดยที่ทำการของนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงกลางตึกซึ่งด้านบนเป็นรูปโดมแก้วโมเสค ส่วนปีกด้านตะวันตกใช้เป็นที่ทำงานของรองนายกรัฐมนตรี ส่วนปีกด้านตะวันออกเป็นที่ทำงานของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สถาปัตยกรรมของอาคารได้รูปแบบ Eclectic ที่มีอิทธิพลจากตะวันตกผสมผสานกับรูปแบบของมาเลย์และอิสลาม หลังคาสีเขียว
จากทำเนียบรัฐบาลมองออกมาทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของมัสยิดปุตรา(Masjid Putra) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมมัสยิดสีชมพูลอยอยู่บนแหลมปุตราจายา จุดที่สูงที่สุดของมัสยิด มีความสูงเทียบเท่าตึกประมาณ 25 ชั้น
เมืองคู่แฝดของปุตราจายา คือ ไซเบอร์จายา





วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบการปกครอง

การปกครองท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียเบื้องต้นที่เราควรรู้

ก่อน ที่จะไปกล่าวถึงระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศมาเลเซีย  ขอเกริ่นถึงประวัติการปกครองของประเทศนี้เคร่าๆก่อนครับ  ประเทศมาเลเซียมีการปกครองแบบสหพันธ์รัฐ  โดยมีรัฐทั้งหมด 13 รัฐด้วยกันประเทศมาเลเซียประกอบด้วยดินแดนสองส่วนด้วยกัน  ส่วนแรกคือส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งตั้งอยู่ปลายแหลมมาลายูมีเนื้อที่ประมาณ  131,582 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วย  รัฐด้วยกันดังนี้  เกอลันตัน  เตอเริงกานู  ปาหัง  โยโฮร์  เมอละกา  เนอเกอรีเซิมบิลัน  เซอลังงอร์  เปรัก  เกอดะห์  ปีนัง และเปร์ลิส และอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่เป็นเกาะซึ่งตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว เรียกกันว่ามาเลเซียตะวันออก  มีเนื้อที่ทั้งสิ้น  198,154 ตารางกิโลเมตร  2 สองรัฐด้วยกันคือ รัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค  ว่ากันว่าขนาดของประเทศมาเลเซียจะเท่ากับประเทศพม่าเลย  แต่หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้วประเทศมาเลเซียมีขนาดเพียงสองในสามของ ประเทศไทยเท่านั้น

ประเทศ มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่  31 สิงหาคม  ปี 1957  โดยประกาศเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ  การรวมตัวกันของซาบะห์  ซาราวัคและสิงค์โปรในปี 1963 ทำให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานั้น  ต่อมาสิงค์โปรก็ต้องแยกตัวออกไปในปี 1966   การปกครองของประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วยสามระดับด้วยกัน  ระดับแรกก็คือระดับสหพันธ์รัฐ  ระดับต่อมาก็คือระดับรัฐ  และระดับที่สามก็คือระดับท้องถิ่น  

ระดับ แรกนั้นกล่าวง่ายๆก็คือระดับประเทศนั้นเอง  รัฐสภาของประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วยสองสภาเหมือนกับประเทศไทย  กล่าวคือมีทั้งสภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสภา  และที่สำคัญรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญของประเทศมาเลเซียยังประกอบไปด้วยสมเด็จพระ ราชาธิบดีหรือดาคงด้วย  แต่ท่านจะไม่เป็นผู้นำในรัฐสภายกเว้นเฉพาะในช่วงเวลาที่จำเป็นแลำสำคัญเท่า นั้น  ตามมาตรา 32  (2) ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์รัฐ  สมเด็จพระราชาธิบดีมีวาระในตำแหน่ง 5 ปี ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งโดยสภาผู้ปกครองจากทั้งเก้ารัฐที่มี ผู้ปกครอง(สุลตาน)จากทั้ง 9 รัฐด้วยกัน  ส่วนสี่รัฐที่ไม่มีสุลตาลปกครองก็คือรัฐปีนัง  รัฐมะละกา  รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค  แม้ไม่มีสุลตานปกครองรัฐเหล่านี้ก็ยังมีผู้ว่าการรัฐที่ได้รับการแต่งตั้ง จากสมเด็จพระราชาธิบดีโดยจะมีวาระในตำแหน่ง 4 ปี

หลัง จากได้ทราบเรื่องราวเบื่องต้นของการปกครองแบบระดับประเทศแล้วเรามาดูการ ปกครองในระดับรัฐกัน  ในรัฐผู้นำสูงสุดของรัฐแต่ละรัฐคือสุลตาน  ท่านจะปฏิบัติตามคำแนะนำของสภาผู้บริหารรัฐซึ่งนำโดย Menteri Besar  หรือมุขมนตรี  แต่หากเป็นรัฐที่ไม่มีสุลตานก็จะมีผู้ว่าการรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอา กงเพื่อที่จะทำหน้าที่ในทางพิธีกรรมต่างๆ คล้ายๆกับสุลตานเหมือนกับในรัฐอื่นๆ  แต่ไม่มีอำนาจเท่ากันเป็นเพียงผู้นำตามพิธีการเท่านั้น  ในการปกครองระดับรัฐนั้นจะมีสภาแห่งรัฐเหมือนกันกับสภาของประเทศ  แต่จะต่างกันตรงที่สภาแห่งรัฐนั้นจะมีเพียงสภาเดียวไม่เหมือนกับสภาแห่ง สหพันธ์ที่มีสองสภา  สภารัฐเหล่านี้จะมีการเลือกตั้งกันทุก 5 ปี สภาแห่งรัฐจะมีอำนาจในการออกกฎหมายได้เต็มที่ตราบใดที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ แห่งสหพันธ์  สภาผู้บริหารแห่งรัฐจะเป็นคณะผู้บริหารรัฐเรียกกันสั้นๆว่าเอ็กโค  จะดำเนินกิจกรรมทืุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับรัฐ  ซึ่งผู้นำของเอ็กโคก็คือหัวหน้าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในระดับรัฐเรียกว่า เมินตรีเบอซานั้นเอง

สุด ท้ายเราก็มาดูกันถึงระดับการปกครองล่างสุดของประเทศมาเลเซีย  นั้นก็คือในระดับท้องถิ่นนั้นเอง  ตามกฎหมายการปกครองท้องถิ่นมองประเทศมาเลเซียปี 1976 ประเทศมาเลเซียได้มีการแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 6 ชนิดด้วยกันคือ
- กรุงกัวลาลัมเปอร์ 
- สภาเทศบาล 
- สภาเมือง 
- คณะเมือง 
- คณะเขตชนบท 
- สภาท้องถิ่น 

จาก การมาตรา 171 มีผลทำให้มีเพียงสองหน่วยการปกครองท้องถิ่นคือ  สภาเทศบาล  และสภาเขต และจากกฎหมายการปกครองท้องถิ่นปี 1976 หน่วยงานปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- หน้าที่วางแผนท้องถิ่น 
- หน้าที่ในการออกใบอนุญาติ
- อำนาจในการเก็บภาษีบางชนิด
- อนุญาติในการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยหรือพวกห้างร้านต่างๆ
- อำนาจในการวางแผนเมืองและหน้าที่ด้านการจัดการ
- การจัดการจราจรและการควบคุมระบบขนส่งมวลชน
- อำนาจในการวางแผนและการสนับสนุนสิ่งสาธารณะต่างๆ

หน้าที่ หลักๆของหน่วยงานท้องถิ่นสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่างๆได้ดังนี้  ด้่านสิ่งแวดล้อม  ด้านงานสาธารณะ  ด้านสังคม และด้านการพัฒนา วึ่งหากมองเผินๆก็คล้ายๆกับบ้านเรานั้นเอง  แต่จุดที่สำคัญที่นำมาซึ่งความสับสนของทางมาเลเซียที่กล่าวไว้ข้างต้นก็คือ ประเทศนี้ไม่มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น  ทำให้เวลาระดับผู้บริหารท้องถิ่นของมาเลเซียมาเยี่ยมเยือนหรือมาติดต่อธุระ ต่างๆก็จะตรงเข้าไปหาข้าราชการดังที่กล่าวไปแล้ว  เพราะผู้นำเหล่านี้ของประเทศมาเลเซียสวมหมวกสองใบ คือเป็นทั้งนายอำเภอและนายกเทศมนตรีในเวลาเดียวกัน  และก่อนหน้านี้บ้านเราก็ให้หัวหน้าส่วนข้าราชการดูแลหรือเป็นประธานในหน่วย งานท้องถิ่นด้วย  เหตุนี้จึงทำให้ทางมาเลเซียจึงไปเข้าพบกับข้าราชการ เช่นนายอำเภอแทนที่จะเข้าพบกับผู้ที่มีอำนาจโดยตรงกับผู้บริหารท้องถิ่น อย่าง อบต หรือ เทศบาล

จริงๆ แล้วการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียนั้นเมื่อก่อนก็เคยจัดขึ้นมาแล้ว  แต่ต้องถูกยกเลิกไปเมื่อปี 1970 นั้นเอง  หลังจากนั้นเป็นต้นมาเทศมนตรีหรือผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องะถิ่นก็ มาจากการแต่งตั้งของ Menteri  Besar โดยตรง  และชื่อที่ถูกเสนอขึ้นไปจะมาจากการเสนอของพรรคการเมืองที่ได้รับชัยชนะใน รัฐนั้นๆ  หากมองในแง่นี้เทศมนตรีหรือผู้นำในระดับท้องถิ่นเหล่านี้ก็จะไม่มีอิสระใน การบริหารเท่าที่ควร  พวกเขาจะขึ้นตรงต่อผู้ที่แต่งตั้งเขามาเท่านั้น  หากมองในเรื่องของประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว  การเลือกตั้งที่มีในระดับท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ดีซึ่งประเทศมาเลเซียเองนับ ว่ามีการพัฒนาล่วงหน้าประเทศไทยไปมาก  แต่แล้วทำไมประเทศนี้ต้องยุติการเลือกตั้งตัวแทนในระดับท้องถิ่นเสีย  มีสิ่งดีๆอยู่แล้วทำไมต้องยกเลิก  เรื่องนี้มีคำตอบครับ

อย่า ลืมว่าประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแบบสหพันธ์รัฐซึ่งในที่นี้หมายถึงรัฐต่างๆ ของมาเลเซียเองก็ยังมีกฎหมายเป็นของตนเองด้วย  และแต่ละรัฐก็มีผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งเหมือนดังที่เกิดขึ้นในระดับ ประเทศทั่วไป  รวมไปถึงในระดับท้องถิ่นประเทศนี้ยังเปิดโอกาศให้มีการเลือกตั้งในระดับ ล่างสุดด้วย  แล้วทำไมอยู่ดีดีประเทศมาเลเซียต้องระงับไม่ให้มีการเลือกตั้งในระดับท้อง ถิ่น  เรื่องนี้มีอยู่ว่าเราคงทราบดีว่าเมื่อครั้งหนึ่งหลังจากที่มาลายาได้รับ เอกราชมีการชวนรัฐต่างๆเข้าร่วมกับมาลายาเพื่อก่อดังสหพันธ์รัฐมาเลเซียผู้ ที่ได้รับชวนเข้าร่วมได้แก่ ซาบะห์  ซาราวัค บรูไน  และสิงค์โปร   ท้ายที่สุดบรูไนไม่ยอมเข้าร่วม  แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่บรูไน  การที่สิงค์โปรเข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับมาเลเซียนั้นมีประเด็น หนึ่งซึ่งชาวจีนที่อยู่ในสิงค์โปรไม่เห็นด้วยคือเรื่องของการให้สิทธิพิเศษ แก่ชนเชื้อชาติมาลายู  ซึ่งทำให้เกิดการจราจลจนทำให้มีผู้เสียชีวิต  เหตนี้ทำให้สิงค์โปรต้องแยกตัวออกไปในที่สุด  ซึ่งความไม่พอใจในเรื่องดังกล่าวยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน